บทที่ 4 การสืบพันธุ์ของพืชดอก

อวัยวะสืบพันธุ์ของพืช
คือ ดอกซึ่งแบ่งออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆคือ
1. ดอกเดี่ยว เช่น ดอกมะเขือ ดอกชบา และดอกกุหลาบเป็นต้น
2. ดอกช่อ เช่น ดอกทานตะวัน บานไม่รู้โรย เป็นต้น

ส่วนประกอบของดอกไม้
1.    ก้านดอก(PEDUNCLE)
2.    กลีบเลี้ยง(SEPAL)
3.    กลีบดอก(PETAL)
4.    อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้(STAMEN)ประกอบด้วยอับละอองเรณู(ANTHER) และก้านชูเกสรตัวผู้(FILAMENT)
5.    อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย(PISTIL)ประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมีย(STIGMA)และก้านชููเกสรตัวเมีย(STYLE)


ข้อควรจำ
-    ดอกสมบูรณ์ (COMPLETE FLOWER) คือดอกไม้ที่มีส่วนประกอบครบ(ทั้ง2-5)
-    ดอกไม่สมบูรณ์ (INCOMPLETE FLOWER) คือดอกไม้ที่มีส่วนประกอบไม่ครบ
-    ดอกสมบูรณ์เพศ(PERFECT FLOWER) คือดอกที่มีอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย
-    ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (IMPERFECT FLOWER) คือดอกที่มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้หรือเพศเมียเพียงเพศเดียว

การถ่ายละอองเรณู และการปฏิสนธิ
    การถ่ายละอองเรณู(POLLINATION) หมายถึงการที่ละอองเรณูตกลงยอดเกสรตัวเมีย
      การปฏิสนธิซ้อน(DOUBLE FERTILIZATION) เกิดขึ้นโดยละอองเรณูสร้างPOLLEN TUBE เป็นหลอดงอกลงไปตามคอเกสรตัวเมียและสเปิร์มนิวเครียส 2 อัน เข้าไปตามหลอด เพื่อเข้าไปผสมกับไข่โพล่านิวเคลียส
      SPERM NUCLEUS(n) + EGG(n) ZYGOTE(2n)
      SPERM NUCLEUS(n) + POLAR NUCLEUS(2n) ENDOSPERM(3n)


ข้อควรจำ 
ภายหลังการปฏิสนธิซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในของพืชดอกดังนี้
-     รังไข่ เจริญไปเป็น ผล
-     ผนังหุ้มรังไข่ เจริญไปเป็น เปลือก,เนื้อของผล
-     ออวุล เจริญไปเป็น เมล็ด
-     ไซโกด(ไข่+สเปิร์ม) เจริญไปเป็น ต้นอ่อน
-     โพล่า นิวเคลียส + สเปิร์ม เจริญไปเป็น เอนโดรสเปิร์ม(อาหารเลี้ยงต้นอ่อน)
-     ANTIPODAL และ SYNERGIDS สลายตัว


ชนิดของผล
แบ่งตามวิธีการเกิดของผล
1.    ผลเดี่ยว(SIMPLE FRUIT) เกิดจากรังไข่อันเดียวในดอกเดียว เช่น มะม่วง
2.    ผลกลุ่ม (AGGREGATE FRUIT) เกิดจากกลุ่มของรังไข่ในดอกเดียวอยู่อัดรวมกันแน่นจนเหมือนเป็นผลเดียว เช่น น้อยหน่า
3.    ผลรวม (MULTIPLE FRUIT)เกิดจากรังไข่ของดอกช่อเชื่อมรวมกันคล้ายผลเดี่ยว เช่น ขนุน


การงอกของเมล็ด(GERMINATION)
การงอกของเมล็ดต้องอาศัยปัจจัยอย่างน้อย 3 อย่าง คือ
1.    น้ำหรือความชื้น
2.    ก๊าซออกซิเจน หรืออากาศหายใจ
3.    อุณหภูมิที่เหมาะสม
เมื่อพืชงอกแล้วต้องอาศัยปัจจัยต่อไปคือแสงและอาหารในดิน


ข้อควรระวังแสงและแร่ธาตุในดินไม่ใช่ปัจจัยในการงอกของเมล็ด

ดัชนีการงอกของเมล็ด
การวัดค่าดัชนี วัดได้จาก ผลบวกของ[จำนวนต้นที่งอกในแต่ละวัน/จำนวนวันหลังเพาะ]
      การงอกแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
1.    HYPOGEAL เป็นการงอกของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ขณะงอกใบเลี้ยงจะจมอยู่ใต้ดิน
2.    EPIGEAL เป็นการงอกของพืชใบเลี้ยงคู่ขณะงอก ใบเลี้ยงจะอยู่เหนือดิน


การพักตัว(DORMANCY)ของเมล็ด
เมล็ดแต่ละชนิดมีสภาพฟักตัว นานไม่เท่ากันเนื่องจาก
1.    มีเปลือกที่แข็งจนน้ำและออกซิเจนเขาไปไม่ได้ เช่น เมล็ดพุทรา
2.    มีสารยับยั้งการงอกเคลือบอยู่ที่ผิวเมล็ด เช่น เมล็ดมะเขือเทศ
3.    เอมบริโอภายในยังไม่พร้อมที่จะเจริญเติบโต จนกว่าปัจจัยการงอกจะเอื้ออำนวย เช่น เมล็ดขนุน


ข้อควรจำ
      การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เช่น อวัยวะ เซลล์ หรือโพรโทพลาสต์ มาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ ที่ปราศจากเชื้อจุลลินทรีย์ต่างๆ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
      เมล็ดเทียม (ARTIFICIAL SEED) เป็นการนำเซลล์ของพืชที่เจริญมาจากการเพาะเนื้อเยื่อมาทำเอมบริโอเทียม (SOMATIC EMBRYO) แล้วห่อหุ้มด้วยสารอาหารที่ทำหน้าที่เป็นเอนโดรสเปิร์ม แล้วห่อหุ้มด้วยส่วนที่แข็งแทนเปลือกหุ้มเมล็ด