บทที่ 5 การตอบสนองของพืช
การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม
การเคลื่อนไหวของพืช
ก. การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเจริญเติบโต (GROWTH MOVEMENT)
1. การเคลื่อนไหวอัตโนมัติ (AUTOMATIC MOVEMENT) มีออกซิเจนเป็นตัวกระตุ้น
- NUTATION การเคลื่อนไหวแบบสั่น เป็นการส่ายของพืชที่เกิดจากส่วนต่างๆของปลายยอดพืชเจริญเติบโตไม่เท่ากัน เช่น ต้นถั่ว
- CIRCUMNUTATION (SPIRALMOVEMENT) เป็นการเคลื่อนไหวแบบบิดเป็นเกลียว ขณะเจริญเติบโต เช่น เถาวัลย์
2. การเคลื่อนที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก (STIMULUS MOVEMENT) เกิดจากการกระตุ้นของออกซินและสิ่งเร้าร่วมกัน
2.1 NASTIC MOVEMENT (NASTY) เป็นการเคลื่อนไหวโดยไม่สัมพันธ์ กับทิศทางของสิ่งเร้า เช่น การหุบบานของดอกไม้ จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือแสงสว่าง
- การบานของดอกไม้เรียกว่า EPINASTY
- การหุบของดอกไม้เรียกว่า HYPONASTY
2.2 TROPIC MOVEMENT (TROPISM) เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจากสิ่งเร้า มีการสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า
- รากเจริญเข้าหาแรงดึงดูดโลก เรียกว่า POSITIVE GEOTROPISM
- รากที่เจริญหนีแสงสว่าง เรียกว่า NEGATIVE PHOTOTROPISM
ข. การเคลื่อนไหวเนื่องจากความเต่ง (TURGOR MOVEMENT)
เกิดจากการออสโทซิสของน้ำเข้าสู่เซลล์ทำให้เซลล์เต่งขึ้น
- พืชบางชนิดจะมีเซลล์ที่โคนก้านใบ มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อื่นๆเรียกว่า PULVINUS เซลล์นี้จะไวต่อการกระตุ้นมากมีทั้งไวต่อการกระตุ้น เช่น ไมยราบ หรือในพืชที่มีการหุบในในเวลากลางคืน เช่น มะขาม กระถิน
- พืชกินแมง เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง ว่านกาบหอย จะมีเซลล์ที่ไวต่อการขังจับแมลง
ข้อควรจำ
การปิดเปิดของปากใบ เกิดจากการเต่งของเซลล์คุม (GUARD CELL)เนื่องจากการออสโมซิส เข้า-ออกเซลล์ของน้ำ
การตอบสนองต่อสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ฮอร์โมนพืช (PLANT HORMONE) เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
1. ออกซิล(AUXIN) เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นจาบริเวณยอดอ่อนหรือรากอ่อน
- กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์โดยทั่วไป
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง
- ทำให้เกิดการเจริญของรังไข่ เป็นผลโดยไม่ต้องปฏิสนธิ (PARTHENOCARPIC FRIIT)
- ชะลอการหลุดร่วงของใบ
- กระตุ้นการงอกของราก
ข้อควรระวัง
ออกซินในความเข้มข้นต่ำๆ จะกระตุ้นความเจริญของราก แต่ในความเข้มข้นสูงๆ จะเป็นการยับยั้ง
2. จิบเบอเรลลิน (GIBBERELLIN) สร้างจากต้นอ่อน มีบทบาทดังนี้
- กระตุ้นการยืดตัว และแบ่งเซลล์ของลำต้น
- กระตุ้นการงอกของเมล็ด
- กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด
- ช่วยในการยืดช่อองุ่นทำให้ผลมีขนาดโตขึ้น
3. ไซโตไคนิน (CYTOKININ)สร้างจากราก มีบทบาทดังนี้
- กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของพืช และช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในกระบวนการเจริญเติบโต
- ยืดอายุผักและผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวให้สดอยู่ได้นาน
- เร่งการงอกของเมล็ด
- เร่งการเจริญของตารอบข้าง
4. กรดแอบไซซิก (ABCISIC ACID) สร้างจากใบ และตา มีบทบาทดังนี้
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช ทำให้แคระแกรน
- ทำให้เกิดการพักตัวของตาและเมล็ด
- กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ และดอก
5. ก๊าซเอธิลิน (ETHYLENE) สร้างจากจากเนื้อเยื่อของพืชมีมากในผลไม้สุกมีบทบาทดังนี้
- เร่งการสุกของผลไม้
- กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ และผล
- กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด
- ช่วยในการงอกของเมล็ด
ข้อควรจำ
1. ออกซิน (ในความเข้มข้นต่ำ) มักนิยมนำไปใช้กระตุ้นการงอกของราก
2. ไซโตไคนิน นำไปใช้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
3. จิบเบอเรลลิน นิยมไปใช้ในการยืดช่อองุ่น ทำให้ผลองุ่นใหญ่ขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)