บทที่ 6 การย่อยอาหาร


การย่อยอาหาร
          หมายถึง กระบวนการแปรสภาพขนาดโมเลกุลของสารอาหารจากโมเลกุลขนาดใหญ่ จนเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้

การย่อยอาหารในสิ่งมีชีวิต
-    จุลินทรีย์ ย่อยภายใน FOOD VACUOLE
-    ไฮดรา และพลานาเรีย ย่อยภายใน GASTROVASCULAR CAVITY
-    ไส้เดือนดินมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ประกอบด้วยคอหอย ( PHARYNX ) หลอดอาหาร ( ESOPHAGUS ) กระเพาะพักอาหาร ( CROP ) กึ๋น ( GIZZARD ) และลำไส้
-     สัตว์กินพืช เช่น วัว ควาย แพะ แกะ มีกระเพาะ 4 ส่วน คือ RUMEN ( ผ้าขี้ริ้ว ) และ RETICLUM ( รังผึ้ง ) ซึ่งมีแบคทีเรียที่ย่อยเซลลูโลสถัดมาคือ OMASUM ( สามสิบกลีบ ) และกระเพาะจริง ( ABOMASUM ) และมีไส้ติ่งขนาดใหญ่ช่วยในการย่อยอาหารได้


ระบบย่อยอาหารของคน ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
        ก.    ท่อเดินอาหาร ( ALIMENTARY CANAL ) ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
1.    ปาก ( MOUTH CAVITY )
2.    หลอดคอหรือคอหอย ( PHARYNX )
3.    หลอดอาหาร ( ESOPHAGUS )
4.    กระเพาะ ( STOMACH )
5.    ลำไส้เล็ก ( SMALL INTESTINE )
6.    ลำไส้ใหญ่ ( LARGE INTESTINE )
7.    ไส้ตรง ( RECTUM )
8.    ทวารหนัก ( ANUS )
ข้อควรจำ
    -  กระเพาะอาหารจะหลั่งกรดเกลือความเข้มข้น 0.2% เพื่อกระตุ้นให้ เอมไซม์เปปซินสามารถทำงานได้
    - ผนังลำไส้เล็ก มีโครงสร้างเล็กๆ ยื่นออกมาจากพื้นของลำไส้เล็กคล้ายเส้นขนของพรม เรียกว่า วิลลัส ( VILLUS ) เป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างอาหารกับผนังลำไส้เล็ก ภายในวิลลัสจะมีกลุ่มเส้นเลือดฝอยอยู่เพื่อการดูดซึมสารอาหารต่างๆ

การย่อยอาหารแบ่งออกเป็น 2 กระบวนการ คือ
1.    การย่อยเชิงกล ( MECHANICAL DIGESTION ) เป็นการทำให้อาหารมีขยาดเล็กลง โดยการบดเคี้ยวของฟัน กึ๋น ( GIZZARD ) และการบีบตัวของทางเดินอาหาร
2.    การย่อยทางเคมี ( CHEMICAL DIGESTION ) เป็นการย่อยโมเลกุลของอาหารโดยอาศัยเอนไซม์การย่อยให้มีขนาดเล็กลง
การย่อยทางเคมีของคน

ข้อควรจำ
       น้ำดีเป็นน้ำที่มีสีเขียวใส สร้างจากตับแล้วส่งมาเก็บที่ถุงน้ำดี ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เกลือน้ำดี
( BILE SALT ) รงควัตถุน้ำดี ( BILE PIGMENT ) และ คลอเรสเตอรอล ( CHLORESTEROL ) เกลือน้ำดีจะทำให้ไขมันแตกตัวเป็นก้อนเล็กๆ ( EMULSION ) เพื่อให้ LIPASE สามารถย่อยต่อไปได้

ข้อควรจำ
1.    ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร ผ่านวิลลัส เข้าสู่เส้นเลือดฝอย
2.    ลำไส้ใหญ่ไม่มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารแต่จะดูดน้ำออกจากกากอาหาร
3.    กระเพาะอาหารสามารถดูดซึมแอลกอฮอล์และยาบางชนิดได้

        ข. อวัยวะช่วยในการย่อยอาหาร ( ACCESSORY ORGANS )
1.    ตับ ( LIVER ) หลั่งน้ำดีช่วยในการย่อยไขมัน
2.    ตับอ่อน ( PANCREAS ) หลั่งน้ำย่อย และ NaHCO3

ข้อควรจำ
         1.    น้ำดีที่หลั่งจากตับไม่จัดว่าเป็นน้ำย่อย เนื่องจากมีการเปลี่ยนสภาพภายหลังจากที่ช่วยให้ไขมันแตกตัว
         2.    NaHCO3 ที่หลั่งมาจากตับอ่อนจะทำหน้าที่ช่วยปรับค่า ph ของอาหารที่มาจากกระเพาะให้มีความเหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ที่อยู่ในลำไส้เล็ก ซึ่งจะทำงานได้ดีในสภาวะที่เป็นเบส